เมนู

ก็มี สัตว์ตายแล้ว เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์
พวกที่สามนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ อย่ากระนั้นเลยเราต้องอาศัย
อยู่ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่
เข้าไปหาปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น จะไม่ลืมตัวบริโภคปัญจ-
กามคุณ เมื่อไม่เข้าไปหา ไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็จะไม่มัวเมา เมื่อ
ไม่มัวเมา ก็จะไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็จะไม่ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจ
ในปัญจกามคุณนั้น ครั้นคิดดังนี้แล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็อาศัยอยู่ใน
ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง เมื่ออาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหา
ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น ไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็ไม่
มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่ถูกมารทำเอาได้
ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่สี่นั้น
ก็หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสมณพราหมณ์
พวกที่สี่นี้ว่า เปรียบเหมือนฝูงเนื้อฝูงที่สี่นั้น.

มารและบริวารของมารไปไม่ถึง


[311] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง
เป็นอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของ
มารให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งจิตภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า

ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความ
ไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาณที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็น
ร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมาร
ให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมาร
ผู้มีบาปธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุได้บรรลุอากาสานัญ-
จายตนฌานซึ่งมีบริกรรมว่า อากาศหาที่สุดมิได้อยู่ เพราะเพิกรูปสัญญาเสีย
ทั้งสิ้น เพราะปฏิฆสัญญาไม่ตั้งอยู่ เพราะไม่มีมนสิการนานัตตสัญญาอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุ
ของมารให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากาสานัญจาย-
ตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนญาน ซึ่งมี
บริกรรมว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุ
ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่
เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า
อะไร ๆ ไม่มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด
คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอกิญจัญญายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุ
ของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-
ตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็และเพราะ
เห็นด้วยปัญญา เธอย่อมมีอาสวะสิ้นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า
ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความ
ไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม เป็นผู้ข้ามพ้นตัณหาอันข้องอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ
ในโลกเสียได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมี
ความยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.
จบ นิวาปสูตรที่ 5

อรรถกถานิวาปสูตร


นิวาปสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในนิวาปสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ ผู้ใดย่อมปลูกพืชคือ
หญ้าไว้ในป่าเพื่อต้องการจะจับเนื้อด้วยตั้งใจว่า เราจะจับพวกเนื้อที่มากินหญ้า
นี้ได้สะดวก ผู้นั้น ชื่อว่า เนวาปิกะ. บทว่า นิวาปํ ได้แก่ พืชที่พึงปลูก.
บทว่า นิวุตฺตํ ได้แก่ ปลูก. บทว่า มิคชาตา ได้แก่ ชุมเนื้อ. บทว่า
อนุปขชฺช แปลว่า ไม่เข้าไปเบียดเบียน. บทว่า มุจฺฉิตา ได้แก่ สยบด้วย
อำนาจตัณหา อธิบายว่า หยั่งเข้าไปสู่หทัยด้วยตัณหาแล้วให้ถึงอาการสยบ.
บทว่า มทํ อาปชฺชิสฺสนฺติ ได้แก่ จักถึงความมัวเมาด้วยอำนาจมานะ.
บทว่า ปมาทํ ได้แก่ภาวะ คือความเป็นผู้มีสติหลงลืม. บทว่า ยถากาม-
กรณียา ภวิสฺสนฺติ
ความว่า เราปรารถนาโดยประการใด จักต้องกระทำ
โดยประการนั้น. บทว่า อิมสฺมึ นิวาเป ได้แก่ ในที่เป็นที่เพาะปลูกนี้.
ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่าหญ้าที่เพาะปลูกไว้นี้ มีความงอกงามในฤดูแล้งก็มี. ฤดูแล้ง
ย่อมมีโดยประการใด ๆ หญ้านั้นย่อมเป็นกลุ่มทึบอันเดียวกันเหมือนหญ้าละมาน
และเหมือนกลุ่มเมฆโดยประการนั้นๆ. พวกพรานไถในที่สำราญด้วยน้ำแห่งหนึ่ง
แล้วปลูกหญ้านั้น กั้นรั้วประกอบประตูรักษาไว้. ครั้นเมื่อใดในเวลาแล้งจัด
หญ้าทุกชนิดย่อมขาว น้ำเพียงชุ่มลิ้นก็หาได้ยาก ในเวลานั้นเนื้อทั้งหลาย
พากันกินหญ้าขาวและใบไม้เก่า ๆ เที่ยวไปอย่างหวาดกลัวอยู่ ดมกลิ่นหญ้าที่
เพาะปลูกไว้ ไม่คำนึงถึงการฆ่าและการจับเป็นต้น ข้ามรั้วเข้าไป. จริงอยู่
หญ้าที่เพาะปลูกไว้ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจอย่างยิ่งของพวกเนื้อเหล่านั้น. เจ้าของ
หญ้าเห็นพวกเนื้อเหล่านั้น ทำเป็นเหมือนเผลอไป 2-3 วัน เปิดประตูไว้ใน